ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับค่ะ ชม blog นี้ โชคดีตลอดปี ตลอดไปนะจ๊ะ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

อาจารย์ อนุสรณ์ ไกรวัฒนุสสรณ์




                ชื่อ นาย อนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์   
    เลขรหัสประจำตัว 3-7499-00318-66-6    เพศ ชาย   
    วัน/เดือน/ปี เกิด 25 ตุลาคม 2513  อายุ 39  ปี   สัญชาติ ไทย       
    ชื่อบิดา    มณฑล    สัญชาติบิดา    ไทย            
    ชื่อมารดา     พอใจ    สัญชาติมารดา    ไทย            
    สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 811 ต. มหาชัย อ. เมือง      
    จังหวัด สมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000        
    ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 840/4 ถนน สุขาภิบาล ต. มหาชัย อ. เมือง             
    จังหวัด สมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000        
    สถานที่ติดต่อ 840/4 ถนนสุขาภิบาล ต.มหาชัย อ.เมือง สมุทรสาคร        
    โทรศัพท์ 01-4248662           
    อาชีพ ลูกจ้างส่วนราชการ          
    วุฒิการศึกษา :-                             
    ปริญญาตรี    สาขา    วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต          
    สถานที่ศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ         
     สำเร็จการศึกษา 2535                                                                        
    ปริญญาโท    สาขา    วิทยาศาสตรบัณฑิต         
    สถานที่ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย            
    สำเร็จการศึกษา 2540   

เทศกาลสงกรานต์

                                                             
             สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยตระกูลภาษาไทแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"       ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์กำหนดตามคัมภีร์สุริยยาตร์ทางโหราศาสตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์เหลื่อมอยู่ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน หรือ 14-16 เมษายน อย่างไรก็ตามปฏิทินไทยในปัจจุบันกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ


      สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี


นางสงกรานต์
      ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย


      ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน


      ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้


      ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ


      จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้







ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ








ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)









 ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)









 ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)









 ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)







ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)







ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

จังหวัดสมุทรสาคร


จังหวัดสมุทรสาคร

จังหวัดสมุทรสาคร
ตราประจำจังหวัดสมุทรสาครตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดสมุทรสาคร
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เมืองประมง ดงโรงงาน
ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์
ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออักษรไทยสมุทรสาคร
ชื่ออักษรโรมันSamut Sakhon
ชื่อไทยอื่นๆมหาชัย, บ้านท่าจีน, สาครบุรี
ผู้ว่าราชการนายจุลภัทร แสงจันทร์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
ต้นไม้ประจำจังหวัดพญาสัตบรรณ
ดอกไม้ประจำจังหวัดไม่มี
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่872.347 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 73)
ประชากร491,887 คน  (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 52)
ความหนาแน่น555.52 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 6)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000
โทรศัพท์(+66) 0 3441 1251, 0 3442 7387
เว็บไซต์จังหวัดสมุทรสาคร
แผนที่
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทย
 

 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

 ประวัติศาสตร์

สมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าในอดีตมีชุมชนใหญ่เรียกว่า "บ้านท่าจีน" ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2099) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านท่าจีนขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามและเป็นเมืองด่านหน้าป้องกันผู้รุกรานทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร และในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นมาจนถึงทุกวันนี้
อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัวเมืองของประเทศไทย

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 40 ตำบล 288 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองสมุทรสาคร
  2. อำเภอกระทุ่มแบน
  3. อำเภอบ้านแพ้ว
 แผนที่

 การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 2 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 8 เทศบาลตำบล และ 26 องค์การบริหารส่วนตำบล[3] ดังนี้ (เฉพาะเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร)

 อำเภอเมืองสมุทรสาคร

 อำเภอกระทุ่มแบน

 อำเภอบ้านแพ้ว

วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร

วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
                             “ วิทยาลัยชุมชน พัฒนาคน พัฒนาท้องถิ่น ”  
ข้อมูลทั่วไป        อักษรย่อ วชช.สค / SMKCC
                             ชื่อภาษาอังกฤษ Samutsakhon Community College
 ประเภท                วิทยาลัยชุมชน
 ผู้อำนวยการ         นายวีรชัย กวีธีระวัฒน์
สีประจำสถาบัน            น้ำเงิน ฟ้า
เว็บไซต์ วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
ที่อยู่   101 หมู่ 9 ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร74000

                 วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร เป็นวิทยาลัยชุมชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2547 ตั้งอยู่เลขที่ 101 หมู่ 9 ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง สมุทรสาคร   จังหวัดสมุทรสาคร ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของภาคประชาสังคมทุกสาขาอาชีพ พบว่ามีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนหนึ่ง ไม่มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในขณะเดียวกันแรงงานในภาคเกษตร ประมง อุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ และภาคอื่นๆ มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้พื้นฐานในการทำงาน และเป็นการเพิ่มมูลค่าในตัวเอง จึงเป็นที่มาของการเสนอจัดตั้ง "วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร" ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยเปิดสอนในหลักสูตรอนุปริญญา และหลักสูตรระยะสั้น  หลักสูตรอนุปริญญาที่เปิดทำการสอนในปัจจุบัน มีจำนวน 3 สาขาวิชา คือ การปกครองท้องถิ่น การบัญชี และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีนักศึกษาจำนวนประมาณ 210 คน 
              วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร มีหน่วยจัดการเรียนการสอน 5 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์อำเภอบ้านแพ้ว โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร  โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณปนูปถัมภ์ และโรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ อำเภอกระทุ่มแบน
วิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย

วิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย  แม่ฮ่องสอน  พิจิตร  ตาก  บุรีรัมย์  มุกดาหาร  หนองบัวลำภู  สระแก้ว  อุทัยธานี  ระนอง นราธิวาส  ยโสธร  สมุทรสาคร  ตราด  สตูล พังงา  ยะลา  ปัตตานี  แพร่  สงขลา  

การติดตั้ง Magento


การติดตั้ง Magento

เราจะลองติดตั้ง Magento บน server จำลอง เราจะใช้ xampp เป็น server จำลองในการติดตั้ง ก่อนอื่นเราต้องติดตั้ง xampp บนเครื่องก่อน
ขั้นตอนการติดตั้ง
1 ดับเบิ้ลคลิกตัวติดตั้ง xmapp เวอร์ชั่นที่ติดตั้งเป็นเวอร์ชั่น 1.6.7
2. เลือกภาษาในการติดตั้ง
3. คลิก next

4.เลือก destination folder คลิก next
5. คลิก Install
6. คลิก finish
7. คลิก ok เพื่อแสดง Control Panel xampp
8. คลิก Start Control Panel xampp
ขั้นตอนการติดตั้ง magento บน xampp
ดาวน์โหลดไฟล์ Magento Thai Edition จาก http://sourceforge.net/projects/thaimagento/
1. คลิกยอมรับเงื่อนไขแล้วคลิก Continue
2. ตั้งค่า Location คลิก Continue
ถ้าระบบบอกว่าต้องโหลด “curl” php Extension ต้องทำการเปิดไฟล์ crul .ที่ไฟล์ php.ini ใน folder php ของ xampp
3. กรอกรายละเอียดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล จากนั้นคลิก ทำต่อ
4. กรอกรายละเอียดตัวเลือกการเข้าถึงเว็บ คลิก ทำต่อ
5. ใส่ข้อมูลส่วนตัว คลิกทำต่อ
เสร็จสินการติดตั้ง สามารถคลิกไปยังส่วนหน้าเว็บหรือส่วนหลังของเว็บไซต์
หน้า login เข้าสู่ระบบ
หน้าเว็บส่วนของ admin
หน้าเว็บส่วนหน้า