ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับค่ะ ชม blog นี้ โชคดีตลอดปี ตลอดไปนะจ๊ะ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

จังหวัดสมุทรสาคร


จังหวัดสมุทรสาคร

จังหวัดสมุทรสาคร
ตราประจำจังหวัดสมุทรสาครตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดสมุทรสาคร
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เมืองประมง ดงโรงงาน
ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์
ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออักษรไทยสมุทรสาคร
ชื่ออักษรโรมันSamut Sakhon
ชื่อไทยอื่นๆมหาชัย, บ้านท่าจีน, สาครบุรี
ผู้ว่าราชการนายจุลภัทร แสงจันทร์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
ต้นไม้ประจำจังหวัดพญาสัตบรรณ
ดอกไม้ประจำจังหวัดไม่มี
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่872.347 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 73)
ประชากร491,887 คน  (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 52)
ความหนาแน่น555.52 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 6)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000
โทรศัพท์(+66) 0 3441 1251, 0 3442 7387
เว็บไซต์จังหวัดสมุทรสาคร
แผนที่
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทย
 

 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

 ประวัติศาสตร์

สมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าในอดีตมีชุมชนใหญ่เรียกว่า "บ้านท่าจีน" ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2099) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านท่าจีนขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามและเป็นเมืองด่านหน้าป้องกันผู้รุกรานทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร และในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นมาจนถึงทุกวันนี้
อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัวเมืองของประเทศไทย

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 40 ตำบล 288 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองสมุทรสาคร
  2. อำเภอกระทุ่มแบน
  3. อำเภอบ้านแพ้ว
 แผนที่

 การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 2 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 8 เทศบาลตำบล และ 26 องค์การบริหารส่วนตำบล[3] ดังนี้ (เฉพาะเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร)

 อำเภอเมืองสมุทรสาคร

 อำเภอกระทุ่มแบน

 อำเภอบ้านแพ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น